ระบบไฟฟ้าภายในบ้านเป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างมาก ควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ และติดตั้งโดยช่างผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยในการใช้งาน หากติดตั้งระบบไฟฟ้าในบ้านไม่ตรงตามมาตรฐาน อาจทำให้เกิดปัญหา เช่น ไฟฟ้ารั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจรได้ ในบทความนี้ ร้านไฟฟ้า.com จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเบรกเกอร์ว่าคืออะไร ทำหน้าที่อะไร แบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท และวิธีการเลือกซื้อเบรกเกอร์ให้เหมาะกับการใช้งานทั้งบ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรม
เบรกเกอร์คืออะไร
เบรกเกอร์ (ฺBreaker) หรือเรียกชื่อเต็มว่า เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการตัดกระแสไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ เมื่อพบความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของระบบไฟ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาไฟเกิน ไฟรั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร เบรกเกอร์จะทำหน้าที่ตัดไฟอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับเครื่องใช้ไฟฟ้า ชีวิต และทรัพย์สินต่างๆ ภายในบ้าน
เบรกเกอร์มีกี่ขนาด
เบรกเกอร์มีตั้งแต่ขนาดเล็กที่ใช้สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือนตามบ้านพักอาศัย ไปจนถึงเบรกเกอร์ขนาดใหญ่สำหรับวงจรไฟฟ้าที่มีกำลังสูงที่ใช้ตามสถานีจ่ายไฟฟ้า สามารถแบ่งออกตามพิกัดแรงดันได้ 3 กลุ่ม คือ
-
เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ (Low Voltage Circuit Breakers)
-
เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้ากลาง (Medium Voltage Circuit Breakers)
-
เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง (High Voltage Circuit Breakers)
เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ (Low Voltage Circuit Breakers)
เป็นเบรกเกอร์ที่มีแรงดันไฟฟ้าน้อยกว่า 1,000 VAC นิยมติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ตู้ DB หรือตู้โหลดเซนเตอร์ และมักจะติดตั้งในตู้ที่เปิดออกได้ เพื่อถอดและเปลี่ยนโดยไม่ต้องถอดสวิตช์ออก โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ MDB, RCD, MCCB และ ACB ซึ่งแต่ละประเภทจะแตกต่างกันทั้งในด้านการออกแบบ ขนาด และรูปร่าง เพื่อให้เข้ากับลักษณะการใช้งานที่หลากหลาย ดังนี้
MCB (Miniature Circuit Breakers)
เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือที่เรียกกันว่า ”เบรกเกอร์ลูกย่อย” เป็นเบรกเกอร์ขนาดเล็ก หรือเบรกเกอร์ไฟบ้านเหมาะสำหรับใช้งานภายในบ้านพักอาศัย หรืออาคารที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 100 แอมป์ สามารถใช้ได้กับระบบกระแสไฟฟ้าทั้งแบบ 1 เฟส (เบรกเกอร์ 1 เฟส) และ 3 เฟส (เบรกเกอร์ 3 เฟส)
RCD (Residual Current Devices)
เบรกเกอร์ตัดไฟรั่วหรือที่เรียกกันว่า “เบรกเกอร์กันดูด” เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยตัดกระแสไฟฟ้าหรือป้องกันกระแสไฟรั่ว ไฟดูด และติดตั้งอยู่ในตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต (Consumer Unit) ซึ่ง RCD มีด้วยกัน 2 ประเภท แต่ละประเภทมีการทำงานที่ต่างกัน ดังนี้
-
RCCB (Residual Current Circuit Breaker): ทำหน้าที่ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด แต่ไม่สามารถตัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ ใช้คู่กับ MCCB
-
RCBO (Residual Current Circuit Breakers with Overload Protection): ทำหน้าที่ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน และกระแสลัดวงจรด้วย เปรียบเสมือนการนำเมนเบรกเกอร์กับ RCCB รวมเข้าด้วยกัน
MCCB (Moulded Case Circuit Breakers)
เบรกเกอร์ที่ใช้เป็นสวิตช์เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีไฟรั่วหรือลัดวงจร ซึ่งสามารถใช้กับกระแสไฟฟ้าไม่เกิน1,600 แอมป์ นิยมติดตั้งในตู้ไฟฟ้า (Local Panel) สำหรับอาคารขนาดใหญ่หรือโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากเบรกเกอร์ชนิดนี้สามารถทนกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือค่า kA (กิโลแอมแปร์) ได้สูง
ACB (Air Circuit Breakers)
เบรกเกอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม Low Voltage Circuit Breakers สามารถทนกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้สูงสุดถึง 6,300 แอมป์ นิยมนำมาใช้งานเป็นเมนเบรกเกอร์ตัวหลักในโรงงานกับงานแรงดันสูง (HVAC) โดยจะติดตั้งในตู้ MDB (Main Distribuition Board) หรือตู้สวิตช์บอร์ด (Switchboard) ซึ่งเป็นตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก
เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้ากลาง (Medium Voltage Circuit Breakers)
เป็นเบรกเกอร์ที่กระแสไฟฟ้าอยู่ระหว่าง 400 V ถึง 15 kV ทำหน้าที่ในการตรวจจับกระแสไฟฟ้าที่ทำงานผ่านหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า นิยมใช้กับอาคารหรือติดตั้งในสถานีไฟฟ้าย่อย
เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง (High Voltage Circuit Breakers)
เป็นเบรกเกอร์ที่ใช้กับการส่งกระแสไฟฟ้าที่มีขนาดแรงดันไฟฟ้า 72.5 kV ทำงานด้วยขดแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีรีเลย์ตรวจจับกระแสไฟฟ้าที่ทำงานผ่านหม้อแปลงไฟฟ้า ช่วยป้องกันไฟเกินและไฟรั่ว
วิธีการเลือกซื้อเบรกเกอร์
ควรเลือกให้ตรงกับระบบไฟฟ้าที่ใช้อยู่ว่าเป็นแบบ 1 เฟส (สำหรับที่พักอาศัยหรือเบรกเกอร์ไฟบ้าน) หรือ 3 เฟส (สำหรับโรงงานหรืออาคารพาณิชย์ หรือเบรกเกอร์ 3 เฟส) ซึ่งการเลือกเบรกเกอร์ให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ โดยพิจารณาจากจำนวน Pole ที่จะเป็นตัวบอกว่าเบรกเกอร์ที่ใช้นั้นเป็นชนิด 1 เฟสหรือ 3 เฟส และค่าพิกัดกระแสจะบ่งบอกถึงค่าจำกัดในหารใช้งานของเบรกเกอร์
จำนวนเสา (Pole) แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
- 4 Pole: เบรกเกอร์สำหรับระบบ 3 เฟส (เบรกเกอร์ 3 เฟส) ป้องกันสาย Line และสาย Neutral เหมาะสำหรับระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูง เพราะสามารถป้องกันได้ทั้ง 4 เส้น หากระบบไฟฟ้าเกิดความผิดปกติ
- 3 Pole: เบรกเกอร์สำหรับระบบ 3 เฟส (เบรกเกอร์ 3 เฟส) ป้องกันสาย Line อย่างเดียว นิยมใช้ในอาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรม
- 2 Pole: เบรกเกอร์สำหรับระบบ 1 เฟส (เบรกเกอร์ไฟบ้าน) ป้องกันสาย Line และสาย Neutral มักใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต มีทั้งแบบ MCB และ MCCB
- 1 Pole: เบรกเกอร์สำหรับระบบ 1 เฟส (เบรกเกอร์ไฟบ้าน) ป้องกันสาย Line อย่างเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นเบรกเกอร์ลูกย่อยที่ใช้ร่วมกับตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต และส่วนมากใช้กับบ้านพักอาศัย
ค่าพิกัดกระแสที่ควรรู้ มีดังนี้
- Interrupting Capacitive (IC): ค่าพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรกเกอร์นั้นๆ มักแสดงในหน่วย kA (กิโลแอมแปร์)
- Amp Trip (AT): แอมป์ทริป คือ ค่ากระแสที่เบรกเกอร์เริ่มทำงาน เป็นตัวบอกให้รู้ว่าเบรกเกอร์ตัวนั้นสามารถทนต่อกระแสไฟฟ้าในภาวะปกติได้สูงสุดเท่าไร เช่น เบรกเกอร์ที่มีค่าแอมป์ทริป 100 A เมื่อกระแส 0-100 A ไหลผ่าน เบรกเกอร์จะไม่ทริป แต่หากมีกระแสไฟฟ้าเกิน 120 A คงที่ไหลผ่าน เบรกเกอร์จะทริปภายใน 2 ชั่วโมง
- Amp Frame (AF): ค่าพิกัดกระแสโครง คือ พิกัดการทนกระแสสูงสุดของเบรกเกอร์นั้นๆ เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีขนาด AF เดียวกันจะมีขนาดมิติ (กว้างxยาวxสูง) เท่ากัน สามารถเปลี่ยนพิกัด Amp Trip ได้โดนที่ขนาด (มิติ) ของเบรกเกอร์ยังเท่าเดิม
การเลือกซื้อเบรกเกอร์ ไม่ว่าจะเป็นเบรกเกอร์ใช้บ้าน หรือเบรกเกอร์ 3 เฟส ควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของอุปกรณ์อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งาน
ร้านไฟฟ้า.com ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบรกเกอร์คุณภาพ
ร้านไฟฟ้า.com เรามีทีมงานมืออาชีพที่พร้อมให้คำปรึกษา และคำแนะนำเบรกเกอร์และอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าอื่นๆ ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ มีบริการจัดส่งสินค้า พร้อมบริการหลังการขายให้คุณมั่นใจถึงความสะดวก รวดเร็ว คุ้มค่า และประหยัดค่าใช้จ่าย ติดต่อเราได้ที่
Website: www.ร้านไฟฟ้า.com
E-mail: ranfaifa@gmail.com
Line: @eshop
Call: 089-121-1111