แบรนด์
  • ABB
  • Mitsubishi
  • Schneider
หมวดหมู่
  • ACB / เบรกเกอร์
  • Pilot Lamp / Push Button
  • Power Plugs
  • Safety Switch
  • TIMER
  • Wireway / รางวายเวย์
  • คาปาซิเตอร์
  • ตู้ไฟ / รางไฟ
  • ท่อ,อุปกรณ์
  • มอเตอร์เบรกเกอร์
  • มิเตอร์ / พาวเวอร์มิเตอร์
  • รีเรย์
  • สวิทซ์ / ปลั๊ก
  • สายไฟ / สายสัญญาณ
  • อินเวอร์เตอร์ / Soft Start
  • อุปกรณ์ป้องกันไฟตก / ไฟเกิน
  • เครื่องพิมพ์ปลอกมาร์คสาย
  • เซฟตี้สวิตช์
  • แมกเนติกคอนแทคเตอร์
  • โอเวอร์โหลดรีเลย์

โอเวอร์โหลดรีเลย์

Showing 1–20 of 76 results

โอเวอร์โหลด คืออะไร

โอเวอร์โหลด หรือโอเวอร์โหลดรีเลย์ (Overload relays) คือ อุปกรณ์ตัดวงจรในกรณีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด เพื่อป้องกันความเสียหายต่อโหลด ซึ่งโหลดในที่นี้หมายถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟ โดยหลักการทำงานของโอเวอร์โหลดมีอยู่ 2 แบบ ขึ้นอยู่กับประเภทของโอเวอร์โหลด

อ่านเพิ่มเติม

รู้จักโอเวอร์โหลด รีเรย์ 2 ประเภท

โอเวอร์โหลดสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ Thermal Overload Relay และ Electrical Overload Relay โดยมีความแตกต่างกัน ดังนี้

  • Thermal Overload Relay

ภายใน Thermal Overload Relay มีขดลวดความร้อน (Heater) พันอยู่กับแผ่นโลหะไบเมทัล (Bimetal) ซึ่งเป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟไปยังโหลด เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินพิกัดจะทำให้ขดลวดความร้อนอุณหภูมิสูงขึ้น และถ่ายเทความร้อนไปยังแผ่นโลหะ ส่งผลให้แผ่นโลหะเกิดการโก่งตัวและดันปิดหน้าสัมผัสของโอเวอร์โหลด ซึ่งเป็นการตัดกระแสไฟฟ้าไปยังโหลด ทำให้มอเตอร์ หรือแผงวงจรของโหลดนั้นๆ ไม่เกิดความเสียหายจากการรับกระแสไฟฟ้าที่มากเกินไป

โดย Thermal Overload Relay มีทั้งแบบสปริงและแมนนวล ซึ่งโอเวอร์โหลดแบบสปริงจะกลับคืนสู่สภาพปกติ เมื่อไม่มีการส่งความร้อนไปยังแผ่นโลหะ ในขณะที่โอเวอร์โหลดแบบแมนนวลจะต้องอาศัยการกดสวิตช์ เพื่อดันให้แผ่นโลหะกลับสู่สภาพเดิม

  • Electrical Overload Relay

Electrical Overload Relay ทำงานด้วยการอาศัยหลักการของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งภายในโอเวอร์โหลดประกอบไปด้วยแผงวงจร 3 ชนิด คือ 

  • วงจรวัดกระแสทำหน้าที่วัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน 
  • วงจรเปรียบเทียบทำหน้าที่เปรียบเทียบค่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้กับค่ากระแสที่ตั้งไว้
  • วงจรควบคุมทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อค่ากระแสไฟฟ้าเกินกว่าค่าที่ตั้งไว้

เมื่อวงจรวัดกระแสพบว่ามีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากกว่าค่ากระแสที่ตั้งไว้ วงจรควบคุมจะทำการตัดวงจรไฟฟ้า เพื่อหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังโหลด เพื่อป้องกันความเสียหายต่อมอเตอร์ หรือแผงวงจรของโหลดจากการรับกระแสไฟฟ้ามากเกินพิกัด

การเลือกโอเวอร์โหลดรีเลย์

การเลือกโอเวอร์โหลดรีเลย์จะต้องพิจารณาจากขนาดของมอเตอร์ ประเภทของมอเตอร์ สภาวะการใช้งาน และฟังก์ชันเสริมต่างๆ 

FAQ

  • ทำไมต้องติดตั้งโอเวอร์โหลด

ในทางเทคนิคแล้ว ควรติดตั้งโอเวอร์โหลดกับมอเตอร์ทุกประเภท เพื่อป้องกันมอเตอร์เสียหายจากการจ่ายกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด เพิ่มความปลอดภัย  ยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์  และป้องกันอันตรายจากไฟไหม้ ซึ่งการติดตั้งฟิวส์ (Fuses) หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เพียงอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันครอบคลุมในส่วนนี้ได้

  • จำเป็นต้องติดตั้งโอเวอร์โหลดร่วมกับเซอร์กิตเบรกเกอร์หรือไม่

การติดตั้งโอเวอร์โหลดร่วมกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันมอเตอร์ไฟฟ้าจากกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด  ยืดอายุการใช้งาน  และป้องกันอันตรายจากไฟไหม้ได้ แต่ทั้ง 2 อุปกรณ์ไม่จำเป็นต้องติดตั้งร่วมกันเสมอไป เช่น มอเตอร์ที่ใช้งานไม่ต่อเนื่อง ช่างไฟฟ้าหรือวิศวกรอาจพิจารณาติดตั้งเพียงเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีขนาดเหมาะสม

  • ราคา โอเวอร์โหลดเท่าไหร่

โอเวอร์โหลดมีราคาตั้งแต่ 500 – 5,000 บาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ รุ่น และขนาดของโอเวอร์โหลด โดย ร้านไฟฟ้า มีโอเวอร์โหลดหลากหลายขนาดและรุ่นจากยี่ห้อชั้นนำ อาทิ ABB, Schneider และ Mitsubishi เป็นต้น พร้อมราคาที่เป็นมิตร

Shopping cart

0
image/svg+xml

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Continue Shopping