ระบบไฟฟ้าในอาคารมีกี่ระบบ มีอะไรบ้างที่ต่างกัน

ระบบไฟฟ้าในอาคาร พื้นฐานสำคัญเพื่อความปลอดภัยในงานไฟฟ้า

ระบบไฟฟ้าในอาคาร เป็นหัวใจสำคัญของการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นอาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม หรือโรงงานอุตสาหกรรม การเลือกใช้และติดตั้งระบบไฟฟ้าที่ถูกต้องช่วยให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และรองรับการขยายตัวของอาคารในอนาคต มาดูกันว่าระบบไฟฟ้าในอาคารมีกี่ระบบ และแต่ละระบบมีหน้าที่อะไรบ้าง

ระบบไฟฟ้าในอาคารมีกี่ระบบ อะไรบ้าง ?

ระบบไฟฟ้าในอาคาร คือระบบที่ใช้จ่ายไฟฟ้าภายในอาคารสถานที่นั้น ๆ โดยสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ระบบแรงดันต่ำและแรงดันสูง โดยมีความแตกต่างกัน ดังนี้

ระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low Voltage System)

สำหรับระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ เป็นระบบที่ใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน โดยไฟฟ้าจะถูกลดแรงดันลงเหลือ 220/380 โวลต์ (V) ผ่านหม้อแปลง ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ระบบแสงสว่าง ไปจนถึงการควบคุมมอเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

  • ระบบแสงสว่าง (Lighting System) : ให้แสงสว่างในพื้นที่ต่าง ๆ ของอาคาร เช่น ไฟเพดาน ไฟดาวน์ไลต์ ไฟฉุกเฉิน หรือไฟสำหรับพื้นที่เฉพาะทาง เช่น ห้องประชุม ห้องน้ำ หรือบันไดหนีไฟ
  • ระบบเต้ารับไฟฟ้า (Power Outlet System) : สำหรับเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ โทรทัศน์ หรือเครื่องใช้สำนักงานต่าง ๆ
  • ระบบควบคุมมอเตอร์และเครื่องจักร (Motor Control System) : ใช้กับอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบหมุนหรือขับเคลื่อน เช่น พัดลม ปั๊มน้ำ และระบบปรับอากาศ ส่วนอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าจะมีอะไรบ้าง ก็ต้องบอกว่ามี หลายประเภท เช่น ตู้คอนซูเมอร์ (Consumer Unit), เบรกเกอร์ (Breaker), คอนแท็กเตอร์ (Contactor), รีเลย์ (Relay) และอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เป็นต้น

ระบบไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage System)

ในส่วนของระบบไฟฟ้าแรงดันสูง มักจะใช้ในอาคารขนาดใหญ่ เช่น อาคารสำนักงาน โรงงาน หรือโรงพยาบาล ซึ่งจะรับไฟฟ้าจากการไฟฟ้าในรูปแบบแรงดันสูงในหน่วยกิโลโวลต์ (33 kV หรือ 22 kV) พร้อมแปลงและจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งภายนอกเข้าสู่อาคาร

  • หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer System) : ใช้แปลงไฟฟ้าจากแรงดันสูงที่ได้รับจากสายส่งภายนอก ให้กลายเป็นแรงดันต่ำสำหรับใช้งานภายในอาคาร
  • ตู้สวิตช์เกียร์แรงสูง (High Voltage Switchgear) : เป็นอุปกรณ์ควบคุมและป้องกันระบบไฟฟ้าแรงสูง เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และสามารถตัดวงจรได้เมื่อเกิดปัญหา

ระบบไฟฟ้าสำรองและความปลอดภัยในงานไฟฟ้า

เพื่อให้ระบบไฟฟ้าภายในอาคารทำงานได้อย่างต่อเนื่องแม้ในกรณีฉุกเฉิน จำเป็นต้องมีระบบสำรองไฟและระบบความปลอดภัยที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสม ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของความปลอดภัยในงานไฟฟ้าของอาคารที่ไม่อาจมองข้ามได้

  • ระบบไฟฟ้าสำรอง (Backup Power System) : ไม่ว่าจะเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง (Generator) หรือ UPS ที่ช่วยให้ระบบสามารถทำงานต่อเนื่องได้แม้ในกรณีไฟฟ้าดับ
  • ระบบสายดินและป้องกันไฟกระชาก (Grounding & Surge Protection) : ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือกระแสไฟฟ้าที่ไม่คงที่ เช่น จากฟ้าผ่า หรือโหลดเกิน
  • ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้และระบบฉุกเฉิน (Fire Alarm & Emergency System) : รวมถึงเซนเซอร์ตรวจจับควัน ระบบสัญญาณเตือนภัย และไฟฉุกเฉินที่ติดตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อช่วยในการอพยพหรือแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด

แนวทางรักษาความปลอดภัยในงานไฟฟ้า

ในระบบไฟฟ้าอาคาร ไม่ว่าจะเป็นบ้านพัก อาคารสำนักงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรม ความปลอดภัยคือสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญสูงสุด โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชนิดร่วมกันอย่างซับซ้อน หากไม่มีการวางแผนอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ความเสี่ยงของไฟฟ้าลัดวงจร หรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้

 

เพิ่มความปลอดภัยในงานไฟฟ้า ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ที่เหมาะสม

 

1. ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน และการติดตั้งที่ถูกต้อง

ผ่านมาตรฐาน มอก. (สำหรับประเทศไทย) หรือมาตรฐานสากลอื่น ๆ อย่าง IEC หรือ UL ซึ่งอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าก็รวมอยู่ในกลุ่มนี้ ไม่ว่าจะเป็นเบรกเกอร์ (MCB), คอนแท็กเตอร์, รีเลย์, ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB, DB, Control Panel) ล้วนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมและตัดวงจรเมื่อเกิดเหตุผิดปกติ ช่วยลดความเสี่ยงจากไฟไหม้หรือไฟดูด

2. ติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร และไฟดูด

ระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรและไฟดูด เช่น RCD (Residual Current Device), ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker) และ SPD (Surge Protective Device) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยตัดไฟเมื่อพบกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือมีไฟรั่ว ซึ่งระบบเหล่านี้ควรติดตั้งควบคู่กับตู้ควบคุมไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยในงานไฟฟ้าอย่างครบวงจร

3. ตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ

แม้จะมีการออกแบบระบบที่ดีและใช้วัสดุมาตรฐานแล้ว แต่เพื่อความปลอดภัยในงานไฟฟ้า จึงควรมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในระดับรายเดือน รายปี หรือหลังจากเกิดเหตุไฟตก ไฟดับ โดยเฉพาะกับตู้ควบคุมไฟฟ้า ซึ่งเป็นจุดรวมของวงจรไฟสำคัญในอาคาร การตรวจสอบสภาพเบรกเกอร์ จุดต่อสายไฟ และอุปกรณ์ภายในตู้ จะช่วยยืดอายุการใช้งาน และลดโอกาสเกิดความเสียหายที่อาจกระทบต่อทั้งระบบ

ยกระดับความปลอดภัยในงานไฟฟ้า ด้วยอุปกรณ์ควบคุมไฟที่ได้มาตรฐานอย่าง “ตู้คอนซูเมอร์” หรือตู้ควบคุมไฟฟ้า ราคาดี ได้คุณภาพที่ “ร้านไฟฟ้า” โดยคัดสรรสินค้าจากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก เพื่อรองรับการใช้งานอย่างครอบคลุมสำหรับวางระบบไฟฟ้าภายในอาคาร พร้อมให้การรับประกันนานสูงสุด 2 ปี จัดส่งฟรี ทันที ! เมื่อมียอดชำระครบ 5,000 บาทขึ้นไป อุ่นใจอีกขั้น ด้วยบริการหลังการขายระดับคุณภาพ ยินดีให้คำปรึกษาตลอดการใช้งาน หากต้องการสั่งซื้อจำนวนมาก สามารถขอใบเสนอราคาได้ทันที

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่

ข้อมูลอ้างอิง

  1. พื้นฐานของระบบไฟฟ้าในอาคาร และความสำคัญของระบบไฟฟ้าสำรอง. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2568 จาก https://chuphotic.com/knowledge/electrical-systems-in-buildings/
ใส่ความเห็น

Shopping cart

0
image/svg+xml

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Continue Shopping