เบรกเกอร์ มีหน้าที่อะไร ? เสริมความปลอดภัย ตัดกระแสไฟอัตโนมัติ

เซอร์กิตเบรกเกอร์ คืออะไร ? ทำความเข้าใจ พร้อมเลือกใช้งาน

เคยสงสัยไหมว่าทำไมไฟถึงดับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจร ? คำตอบอยู่ที่เบรกเกอร์ อุปกรณ์สำคัญที่ช่วยปกป้องและควบคุมระบบไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมปกป้องระบบไฟฟ้าจากภัยอันตรายที่มองไม่เห็น

ทำความรู้จักเซอร์กิตเบรกเกอร์ คืออะไร ?

เบรกเกอร์ หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คืออุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าที่จะทำการตัดกระแสไฟฟ้าในวงจรโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร หรือกระแสไฟเกินพิกัด แล้วสามารถรีเซตกลับมาใช้งานได้ทันทีหลังแก้ไขปัญหา ต่างจากฟิวส์ที่ต้องเปลี่ยนใหม่เมื่อเกิดการตัดกระแสไฟ หากยังสงสัยว่าเบรกเกอร์มีหน้าที่อะไร ? มีสรุปไว้ให้ ดังนี้

  • ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเชื่อมต่อสายไฟผิดพลาด
  • ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย
  • ป้องกันอันตรายต่อผู้ใช้งาน ลดความเสี่ยงต่อไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้าช็อต
  • ควบคุมและจัดการระบบไฟฟ้า ใช้เปิด-ปิดระบบไฟฟ้าในกรณีที่ต้องการซ่อมบำรุง

เบรกเกอร์มีกี่ชนิด ?

การเลือกเบรกเกอร์ที่เหมาะสมจำเป็นต้องเข้าใจประเภทของเซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นอย่างดีเสียก่อน ซึ่งจะสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานและความสามารถในการรองรับกระแสไฟฟ้าได้ ดังนี้

1. เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ (Low Voltage Circuit Breakers)

เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ เป็นชนิดที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน โดยส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้ในระบบไฟฟ้าภายในบ้านพักหรืออาคารสำนักงาน ที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 400 โวลต์ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรหรือกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่

  • MCB (Miniature Circuit Breaker) เบรกเกอร์ลูกย่อยที่ออกแบบมาให้ตัดกระแสไฟเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือกระแสไฟเกินพิกัด โดยรองรับกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 100 แอมป์
  • MCCB (Molded Case Circuit Breaker) รองรับกระแสไฟฟ้าสูงถึง 2,500 แอมป์ จึงเหมาะกับระบบไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่กว่า MCB
  • RCD/RCCB ตรวจจับกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไฟฟ้าดูด โดยเปรียบเทียบกระแสไฟฟ้าขาเข้าและขาออก หากพบความต่าง จะทำการตัดกระแสไฟทันที นิยมใช้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว หรือสระว่ายน้ำ

2. เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง

เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานที่ต้องมีความเสถียรและความปลอดภัยสูงกว่าแรงดันไฟฟ้าต่ำ นิยมใช้กับอาคาร หรือการติดตั้งในสถานีย่อย โดยมีประเภทหลัก ดังนี้

  • ACB (Air Circuit Breaker) ซึ่งใช้ลมอัดเป็นตัวกลางในการดับอาร์กไฟฟ้า (Arc Flash) หรือประกายไฟฟ้า รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุดถึง 6,300 แอมป์ นิยมใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในโรงงานอุตสาหกรรม หรืออาคารขนาดใหญ่
  • VCB (Vacuum Circuit Breakers) ใช้สุญญากาศเป็นตัวกลางในการดับอาร์กไฟฟ้า ช่วยลดการเกิดปัญหาจากความชื้น หรือฝุ่น จึงเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความชื้นสูง เช่น โรงงานอาหาร หรือพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ
  • SF6 Circuit Breakers เป็นการใช้ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) ซึ่งมีคุณสมบัติดับอาร์กไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถรองรับแรงดันไฟฟ้าสูง เหมาะสำหรับสถานีย่อยไฟฟ้าที่ต้องการความปลอดภัยสูง

3. เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง

เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบไฟฟ้าที่ต้องการรองรับแรงดันไฟฟ้าสูงกว่า 72.5 กิโลโวลต์ขึ้นไป โดยออกแบบให้มีความทนทานและปลอดภัยสำหรับการส่งกำลังไฟฟ้าระยะไกล มักใช้ในสถานีไฟฟ้าแรงสูงเพื่อตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อเกิดความผิดปกติ

 

เบรกเกอร์ เลือกแบบไหนดีให้ตอบโจทย์การใช้งาน

ใช้งานเบรกเกอร์ พิจารณาเลือกแบบไหนดี ?

การเลือกเบรกเกอร์ที่ถูกต้องต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยสำคัญ เพื่อให้ได้อุปกรณ์ที่ตรงกับความต้องการและการใช้งานมากที่สุด ดังนี้

1. พิจารณาจากกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน

กระแสไฟฟ้า เป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ต้องพิจารณาในการเลือกเบรกเกอร์ ซึ่งเบรกเกอร์ที่เลือกใช้จะต้องรองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุดในระบบได้อย่างปลอดภัย โดยต้องตรวจสอบขนาดของกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ระบบใช้งานจริง เพื่อป้องกันการเลือกเบรกเกอร์ที่มีขนาดเล็กเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดการตัดไฟบ่อยครั้ง

2. ประเภทของการใช้งาน

ประเภทของระบบไฟฟ้าที่ใช้งาน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการเลือกเบรกเกอร์ เนื่องจากแต่ละประเภทการใช้งานมีข้อกำหนดและความต้องการที่แตกต่างกัน เช่น สำหรับอาคารขนาดใหญ่ ควรเลือกใช้ MCCB หรือ ACB (Air Circuit Breaker) ซึ่งเหมาะกับระบบไฟฟ้าที่รองรับกระแสไฟฟ้าสูง เช่น ระบบไฟฟ้าในอาคารสำนักงาน โรงงาน หรือห้างสรรพสินค้า อีกทั้ง ACB ยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถรองรับกระแสไฟสูงสุดได้ถึง 6,300 แอมป์ แต่ในกรณีที่ต้องการระบบที่มีความทนทานและปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม เช่น ฝุ่น ความชื้น หรือไอสารเคมี การเลือก VCB (Vacuum Circuit Breaker) หรือ SF6 Circuit Breaker อาจเหมาะสมกว่า

3. มาตรฐานและแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ

เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของเบรกเกอร์ ควรเลือกอุปกรณ์ที่ผลิตจากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงและได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล เช่น CE (Conformité Européenne), ISO (International Organization for Standardization), IEC (International Electrotechnical Commission) โดยแบรนด์ที่แนะนำ ได้แก่

  • ABB แบรนด์ระดับโลกที่มีชื่อเสียงในด้านการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าคุณภาพสูง เหมาะสำหรับการใช้งานในทุกประเภทระบบไฟฟ้า
  • Mitsubishi เด่นในด้านความทนทานและประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในงานอุตสาหกรรม
  • Schneider Electric มีการออกแบบที่ทันสมัยและเน้นความปลอดภัยสูง เหมาะสำหรับทั้งบ้านพักอาศัยและอุตสาหกรรม

เบรกเกอร์มีบทบาทสำคัญในการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า การเลือกชนิดที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ระบบไฟฟ้าปลอดภัยและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่าลืมตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารวมและปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้เบรกเกอร์ที่มีทำงานได้อย่างดีที่สุด หากสนใจเลือกซื้อเบรกเกอร์คุณภาพสูง “ร้านไฟฟ้า” จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าคุณภาพสูงในราคาที่เหมาะสม พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกเบรกเกอร์ไฟฟ้า และตู้เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของคุณ เช็กราคาได้ทั้งแบบปลีกและส่ง พร้อมให้การรับประกันนานสูงสุด 2 ปี จัดส่งฟรี ทันที ! เมื่อมียอดชำระครบ 5,000 บาทขึ้นไป อุ่นใจอีกขั้น ด้วยบริการหลังการขายระดับคุณภาพ ยินดีให้คำปรึกษาตลอดการใช้งาน หากต้องการสั่งซื้อจำนวนมาก สามารถขอใบเสนอราคาได้ทันที

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Electronic Circuit Breaker. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2568 จาก https://www.sciencedirect.com/topics/engineering/electronic-circuit-breaker
ใส่ความเห็น

Shopping cart

0
image/svg+xml

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Continue Shopping